วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554



วันนี้อาจารย์ให้เคลียร์ที้งหมดแล้วให้ส่งปฎิทิน อาจารย์ได้นัดสอบ
ปลายภายวันอาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ เวลา 9.00-10.30น.
และใครที่ยังไม่ได้ลิ้งค์บล็อกก็ให้ลิ้งลงของอาจารย์ให้เสร็จ
อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะจะให้ไปเคลียร์็บล็อกเกอร์

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554


วันนี้เป็นวันที่ดี มีสมาธิในการเรียน เพื่อนๆในห้องก็เฮฮากัน สนุกดี วันนี้อาจารย์จ๋าเข้ามา อาจารย์ได้พูดถึงสภาพแวดล้อมที่เราจัดให้เด็กนั้น เด็กจะได้รับประสบการณ์ที่เอื้อต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี อย่างเช่น ปักไฟควรที่จะอยู่ข้างล่าง บางทีอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็ก พ่อแม่ควรที่จะหาทางแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญ เด็กจะเกิดการเรียนรู้ เราควรส่งเสริมด้านภาษา
การจัดมุมประสบการณ์ควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ อาจจะมีหนังสือบิ๊กบุค หนังสือนิทาน ฉะนั้นก็เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายและซึมซับภาษาได้ตลอดเวลา ดังนั้นภาษาจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด การใช้ภาษายังไง
ข้อคิด -> ในแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน เมื่อเจอกับสถานการณ์เราควรจะจัดกิจกรรมยังไง
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
- เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็น
- สอนแบบธรรมชาติเป็นอย่างไร และถ้าสอนไม่เป็นธรรมชาติ คือสอนโดยที่เด็กรับฟังอย่างเดียว เช่น ก กา ข ขา
- สอนให้มีความหมาย สอนให้เด็กได้มีประสบการณ์ก่อนเพื่อที่เด็กเรียนรู้ที่ไปได้เร็ว สอนเด็กให้รู้ถึงความสนุกสนาน ความสนุกสนานจะเกิดขึ้นอย่างเรานึกถึงเรื่องสนุก เด็กก็จะได้รู้ถึงความจากประสบการณ์เมื่อเด็กจะได้เขียนกับงานศิลปะ เด็กจะได้ถ่ายทอดผลงานในมุมประสบการณ์ก็ยังมีการได้เขียนได้พูดคุย
นอกจากเขียนจากมุมแล้วยังสามารถเขียนได้อีกจากการเขียนในเวลาที่เด็กมาโรงเรียน
การพูด - จากการเล่าข่าว เล่าประสบการณ์
การฟัง - จากการฟังข่าว
อ่าน - จากป้ายนิเทศ หนังสือ
อาจารย์ให้ฟังเพลง ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร และเขาพยายามบอกอะไรบ้าง
อันดับแรกที่จะสื่อให้รู้สึกยังไง อย่างแรกก็คือเสียงดนตรี ทำนอนดนตรีก็เป็นภาษาสื่อออกมา ในกิจกรรมในแต่ละครั้งเด็กก็จะมีความรู้สึกหลากหลาย
อันดับที่สอง ที่ครูเอาอันนี้มาทำให้เห็นว่าเรื่องราวต่างๆที่เราอยากจะบอก อย่างเพลง ว่าเกาะสมุยมีดีอะไร มีหาดทรายสวย ผู้คนมีน้ำใจ มีลิง และถ้าคุณต้องเปิดเพลงเกี่ยวกับเรื่องพระวิหารบ้าง คุณจะเปิดเพลงแนวนี้ไหม ทุกคนในห้องก็หัวเราะกัน สนุกไปกับการเรียน ทำให้อารมณ์ที่เครียดกับสนุกไปด้วย ดังนั้นการสอนเด็กเราต้องพยายามคิดว่าจะสอนเด็กยังไง หาเพลงที่เหมาะกับเด็ก อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องเพลงว่า เวลาไปสอนคนมักจะร้องเพลงผิดเพี้ยน อาจจะตื่นเต้นในเวลาสอน เลยทำให้ร้องเพลงผิดคีย์ การที่เราจะสื่อเพลงนั้นจะ
ทำให้เด็กมีการเข้าใจได้ง่าย
ทำไมเราต้องอ่านหนังสือให้เด็ก ก็เพราะว่าเด็กจะได้ประสบการณ์และคุ้นเคยกับตัวหนังสือ
- ภาษาเขียนอ่านลำดับจากหน้าไปหลัง
- ตัวหนังสือแตกต่างจากภาพ
- ตัวหนังสือก่อให้เกิดนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- ตัวหนังสือทำให้เกิดเสียง
- ข้อความในหนังสือเป็นสิ่งถาวร
ถามว่า ควรสอนอ่านหนังสือก่อนขึ้นประถม ควร เพราะถ้าเด็กมาขอให้ครูสอนอ่าน มีไหม มี เพราะเด็กแต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เป็นความปรารถนาของเด็ก วิธีที่เหมาะสมกับเด็ก เช่น ตา หู จมก กับให้ถูก สอนอ่านจากภาพแทนคำ ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ อย่างเช่นคำที่เน้นสีเข้มเด็กจะอ่านได้ดีกว่า
ใช้ประสบการณ์ตรง-> เด็กได้พูดคุยได้อ่านจริง
สุดท้ายท้ายสุด อาทิตย์หน้าเราปิดครอส งานทุกอย่างต้องเสร็จและคนที่ยังไม่ได้เล่านิทานต้องเอาใบรายชื่อมาส่งก่อนล่วงหน้า

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

วันอังคาร ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

วันนี้เข้ามาเรียนบรรยากาศในห้องดูเหมือนว่าจะเหนื่อยร้ากันมาก วันนี้ดูเหมือนว่าตัวดิฉันเองไม่ค่อยมีสมาธิซักเท่าไหร่ วันนี้อาจารย์เข้ามาก็ได้พูดถึงลักษณะสำคัญของภาษา ว่า
1.อาจารย์ได้พูดถึงลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
-จะเน้นการเข้าใจในเนื้อเรื่องมากกว่าจะท่องจำตัวหนังสือ
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และ สะกด เป็นสิ่งที่
ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรรมชาติ
-มีสื่อสิ่งพิมพ์ต่างวไ้ให้เด็กได้เลือกเพื่อจะไดรับประสบการณ์ทาง
ภาษาที่หลากหลาย
-ครูควรแนะวิธีการอ่านโดยจากการอ่านในกลุ่มเล็กก่อน จะใช้หนังสือ
ขนาดใหญ่และมีตัวหนังสือที่มองเห็นชัดๆ ผลัดกันอ่านออกเสียง
-แนะการอ่านอย่างมีความหมายอย่างสนุกสนานเพื่อจะให้เด็กรู้วิธี
การอ่านอย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย เลือกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
-ให้เด็กได้เลือกอ่านหนังสือที่ตนเองชอบได้
-ให้เด็กวาดรูปได้อย่างอิสระ
2.จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษา
ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก - คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก
ขั้นที่สอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด
โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
ขั้นที่สาม เด็กเริ่มใช้สัญลักษณ์ใกล้เคียงกับอักษรจริ
วันนี้ดิฉันจำได้แค่นี้จริงๆ เนื่องจากว่าวันนี้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากดิฉันไม่ค่อยสบาย ท้องเสีย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 18 มกราคม 2554

วันนี้เป็นวันที่ดิฉันไม่ค่อยอยากเรียนเท่าไหร่ เนื่องจากไม่ค่อยสบายเลยทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิ และเพื่อนในห้องก็เป็นอะไรไม่รู้ เหมือนไม่เคยได้คุยกันมานาน คุยกันซะน่ารำคาญ แต่แล้วอาจารย์ก็เข้ามา อาจารย์ให้คิดคำมา 1 คำ แล้วให้เพื่อนคิดคำที่คล้องจอง มีสระที่คล้องจองกัน อย่าง รัก -นัก แล้วอาจารย์ก็เรียกถามไปเรื่อยๆ เหมือนเช็คชื่อไปด้วย ถามจนครบคน แล้วอาจารย์ก็ได้พูดขึ้นว่า การให้เด็กคิดคำคล้องจองนั้น เด็กก็จะได้ใช้เพิ่มคำศัพท์ ครูจะให้คุณคิดบางสิ่งบางอย่าง ทำให้เรามีความสุขแล้วคุณบอกครูว่า มันเป็นเพราะอะไรคุณถึงมีความสุข แล้วอาจารย์ก็เรียกถามอย่าง ของรัก สิ่งที่เศร้า แปลกใจ ขำ ตกใจ หงุดหงิด เศร้า
เป็นการให้เด็กได้แสดงออก ทำให้นึกถึงความเศร้า ความสุขแล้วบอกเหตุผลได้ และอาจารย์จะแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น
กิจกรรมที่ 1 การคิดคำคล้องจอง
คือการคิดทำกิจกรรมคำคล้องจอง เด็กได้คิดคำ เสียงต้น สระ เป็นการส่งเสริมทางภาษา
กิจกรรมที่ 2 ด้านการพูด ความเศร้าอย่างนี้เป็นเหตุอย่างไร พริกด้านเป็นหน้าว่างๆ ให้ทำเป็นรูปวงกลม 1 วง อยู่ตรงกลางหรืออยู่ล่างกระดาษก็ได้ ให้ตามแนวนอน ทำวงกลมเหนือขึ้นไป 2 วงกลม แล้วให้วาดหน้าตัวเองลงไปในวงแรก พอวาดตัวเองเสร็จแล้วให้วาดรูปหน้าพ่อแม่เพื่อที่จะได้คิดถึงแม่ ฮิฮิ
ในขณะที่เด็กวาดรูปตัวเองเป็นภาษา เด็กวาดรูปแทนภาษา เมื่อเด็กวาดรูปเชื่อมโยงคำศัพท์ ทางภาษาก็เข้ามาเชื่อมโยงที่เราวาดนี้ก็คือฝังครอบครัว ซึ่งเด็กเล็กๆยังเขียนไม่ค่อยได้ และอาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องและได้บอกว่าเมื่อครูออกคำสั่งว่าจันทรเกษม ให้ปฏิบัติ แต่ถ้าไม่มีคำว่าจันทรเกษม ไม่ต้องทำอะไร และให้ทำตรงข้ามกับคำสั่ง ฮาเลย มีเพื่อนทำตามคำสั่งซะงั้น ก็หัวเราะกันทั้งห้องเลย ทำให้รู้ว่าพวกเราจะต้องปรับปรุงการรับฟัง งี้แหละแก่แล้ว
กิจกรรมที่ 3 ให้ออกมายืนหน้าห้องแล้วให้หัวแถวเขียนอะไรก็ได้ แล้วบอกเพื่อนให้กระซิบบอกเพื่อน ให้บอกต่อๆไป จนไปถึงคนสุดท้ายให้คนสุดท้ายออกมาบอกครู คำตอบคืออ้วนมาก แต่เพื่อนคนสุดท้ายกลับบอกว่า อ้วนมากๆ
กิจกรรมที่ 4 ให้ออกไปเขียนรูปที่อยากจะเขียน แล้วให้คนแรกเล่าถึงภาพที่ตัวเองวาด คนต่อไปให้เล่าเรื่องของตัวเอง เล่าต่อจากเรื่องของเพื่อนเพื่อให้ต่อเป็นเรื่องราวจนคนสุดท้าย จากการเขียนภาพเล่าเรื่องเด็กยังได้วาดภาพแล้วยังได้ใช้ภาษาในการพูดคุยมันก็เหมือนการจดบันทึกๆ เป็นการต่อยอดไปเรื่อยฝึกให้เด็กได้มีความกล้าคิด
กิจกรรมที่ 5 ให้ออกมาร้องเพลงอะไรก็ได้ เพื่อนได้ออกมาร้องเพลง ว่าวลอยอยู่บนท้องฟ้า
อาจารย์จ๋าได้พูดว่า การร้องเพลงเป็นไง คิดว่าเพราะไหม ทำไมถึงได้ร้องเพลงนี้ อย่างที่เราร้อง ถ้าเรามีคำคล้องจองนั้นมีเยอะไหม เด็กจะได้รับภาษา จากการร้องเพลง ได้ใช้คำควบกล้ำจากคำคล้องจอง ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเด็กได้
และอาจารย์ยังได้ให้นับปฏิทิน ให้ใช้เศษกระดาษมาพับครึ่ง ตัดแล้วแม็กเย็บเหมือนปฏิทิน
อาจารย์ยังให้ร้องเพลง 7 วัน
เนื้อเพลง เจ็ดวันอันนั่งนับ อาทิตย์รับเริ่มสีแดง
วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลง เป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
วันอังคารสีชมพู ช่างงามหรูดูทีท่า
วันพุธสุดโสภา เขียวขจีสีสดใส
วันพฤหัสบดี ประสานสีแสดวิไล
วันศุกร์ฟ้าอำไพ เสาร์สีม่วงเด่นดวงเอย
จากเสียง ทำให้เด็กแยกแยะเสียง ฝึกการออกเสียง ซึ่งจะมีอยู่ 3 ลักษณะ
1.ภาพตัดต่อ
2.ภาพกับคำ
เพลง ขอบคุณ ขอบใจ
เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ
หนูๆ ควรต้องนึกถึงพระคุณ
น้อมไหว้กล่าวคำ "ขอบพระคุณ"
เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
นึกถึงบุญคุณกล่าวคำ "ขอบใจ"
อาจารย์จ๋าว่า ตอนนี้ให้ล่างให้ครูดูก่อน ส่วนภาพให้เราอย่าพึ่งเปลี่ยนภาพแล้วค่อยไปหารูปเตรียมไว้ จะวาดหรือจะตัดแปะก็ได้ ออกแบบออกมา ไม่ต้องลงทุนสูง ส่งภายในวันศุกร์นี้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2554

สำหรับวันนี้อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย แต่ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน
เพราะว่าติดธุระกระทันหันจึงต้องรีบกลับบ้านด่วน เลยไม่ได้ไปเรียนคะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 11 มกราคม 2554

วันนี้อากาศดี เข้ามาเลยก็เห็นเพื่อนในห้องครึกครักกันใหญ่ ไม่รุเหมือนกันว่าเป็นอะไรกัน วันนี้อาจารย์ให้ร่วมกันในห้องให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริศนาคำทาย อาจารย์ให้ส่งสมุดเล่มเล็ก และ ฉัน ชอบ กิน... คนที่ไม่ได้ส่งก็ให้ส่ง
ภายในวันนี้ และยังยกตัวอย่างงานของเพื่อนบางคนได้แนะนำว่าควรเขียน
ตัวหนังสือให้ชัดๆ อ่านออก ตัวหนังสือต้องมีหัวทุกตัว จากนั้นอาจารย์ก็ให้
นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอปริศนาคำทาย และในเพื่อนๆช่วยกัน
แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติม
เกี่ยวกับตัวหนังสือต้องเว้นวรรคให้ชัดเจน พอนำเสนอเสร็จครบทุกกลุ่มแล้ว
อาจารย์ก็มอบหมายให้แต่ละกลุ่มนำ Big Bookไปเล่นให้เด็กสาธิตฟัง
ภายให้อาทิตย์หน้าพร้อมถ่ายรูปและสรุปผลส่งให้อาจารย์ด้วย
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมส่มเสริมทักษะทางภาษาดังนี้
-โฆษณา
-ประชาสัมพันธ์
-ประกาศ
-ของรักของหวง
-เล่าเรื่องจากภาพ
-เล่าประสบการณ์