วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554



วันนี้อาจารย์ให้เคลียร์ที้งหมดแล้วให้ส่งปฎิทิน อาจารย์ได้นัดสอบ
ปลายภายวันอาทิตย์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ เวลา 9.00-10.30น.
และใครที่ยังไม่ได้ลิ้งค์บล็อกก็ให้ลิ้งลงของอาจารย์ให้เสร็จ
อาจารย์ปล่อยก่อนเวลาเพราะจะให้ไปเคลียร์็บล็อกเกอร์

วันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554


วันนี้เป็นวันที่ดี มีสมาธิในการเรียน เพื่อนๆในห้องก็เฮฮากัน สนุกดี วันนี้อาจารย์จ๋าเข้ามา อาจารย์ได้พูดถึงสภาพแวดล้อมที่เราจัดให้เด็กนั้น เด็กจะได้รับประสบการณ์ที่เอื้อต่อการจัดสภาพแวดล้อมที่ดี อย่างเช่น ปักไฟควรที่จะอยู่ข้างล่าง บางทีอาจจะเป็นอันตรายต่อเด็ก พ่อแม่ควรที่จะหาทางแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญ เด็กจะเกิดการเรียนรู้ เราควรส่งเสริมด้านภาษา
การจัดมุมประสบการณ์ควรเป็นสถานที่ที่เด็กได้อยู่ในโลกของภาษาตัวหนังสือ สัญลักษณ์ที่มีความหมายต่อเรื่องที่เรียน มีมุมที่เด็กสนใจ อาจจะมีหนังสือบิ๊กบุค หนังสือนิทาน ฉะนั้นก็เต็มไปด้วยประสบการณ์ที่หลากหลายและซึมซับภาษาได้ตลอดเวลา ดังนั้นภาษาจะเกิดขึ้นได้เมื่อใด การใช้ภาษายังไง
ข้อคิด -> ในแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกัน เมื่อเจอกับสถานการณ์เราควรจะจัดกิจกรรมยังไง
ข้อคิดสำหรับการสอนภาษา
- เริ่มจากตัวเด็กก่อนไม่ว่าจะเป็น
- สอนแบบธรรมชาติเป็นอย่างไร และถ้าสอนไม่เป็นธรรมชาติ คือสอนโดยที่เด็กรับฟังอย่างเดียว เช่น ก กา ข ขา
- สอนให้มีความหมาย สอนให้เด็กได้มีประสบการณ์ก่อนเพื่อที่เด็กเรียนรู้ที่ไปได้เร็ว สอนเด็กให้รู้ถึงความสนุกสนาน ความสนุกสนานจะเกิดขึ้นอย่างเรานึกถึงเรื่องสนุก เด็กก็จะได้รู้ถึงความจากประสบการณ์เมื่อเด็กจะได้เขียนกับงานศิลปะ เด็กจะได้ถ่ายทอดผลงานในมุมประสบการณ์ก็ยังมีการได้เขียนได้พูดคุย
นอกจากเขียนจากมุมแล้วยังสามารถเขียนได้อีกจากการเขียนในเวลาที่เด็กมาโรงเรียน
การพูด - จากการเล่าข่าว เล่าประสบการณ์
การฟัง - จากการฟังข่าว
อ่าน - จากป้ายนิเทศ หนังสือ
อาจารย์ให้ฟังเพลง ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร และเขาพยายามบอกอะไรบ้าง
อันดับแรกที่จะสื่อให้รู้สึกยังไง อย่างแรกก็คือเสียงดนตรี ทำนอนดนตรีก็เป็นภาษาสื่อออกมา ในกิจกรรมในแต่ละครั้งเด็กก็จะมีความรู้สึกหลากหลาย
อันดับที่สอง ที่ครูเอาอันนี้มาทำให้เห็นว่าเรื่องราวต่างๆที่เราอยากจะบอก อย่างเพลง ว่าเกาะสมุยมีดีอะไร มีหาดทรายสวย ผู้คนมีน้ำใจ มีลิง และถ้าคุณต้องเปิดเพลงเกี่ยวกับเรื่องพระวิหารบ้าง คุณจะเปิดเพลงแนวนี้ไหม ทุกคนในห้องก็หัวเราะกัน สนุกไปกับการเรียน ทำให้อารมณ์ที่เครียดกับสนุกไปด้วย ดังนั้นการสอนเด็กเราต้องพยายามคิดว่าจะสอนเด็กยังไง หาเพลงที่เหมาะกับเด็ก อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องเพลงว่า เวลาไปสอนคนมักจะร้องเพลงผิดเพี้ยน อาจจะตื่นเต้นในเวลาสอน เลยทำให้ร้องเพลงผิดคีย์ การที่เราจะสื่อเพลงนั้นจะ
ทำให้เด็กมีการเข้าใจได้ง่าย
ทำไมเราต้องอ่านหนังสือให้เด็ก ก็เพราะว่าเด็กจะได้ประสบการณ์และคุ้นเคยกับตัวหนังสือ
- ภาษาเขียนอ่านลำดับจากหน้าไปหลัง
- ตัวหนังสือแตกต่างจากภาพ
- ตัวหนังสือก่อให้เกิดนิทานและเรื่องราวต่างๆ
- ตัวหนังสือทำให้เกิดเสียง
- ข้อความในหนังสือเป็นสิ่งถาวร
ถามว่า ควรสอนอ่านหนังสือก่อนขึ้นประถม ควร เพราะถ้าเด็กมาขอให้ครูสอนอ่าน มีไหม มี เพราะเด็กแต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน เป็นความปรารถนาของเด็ก วิธีที่เหมาะสมกับเด็ก เช่น ตา หู จมก กับให้ถูก สอนอ่านจากภาพแทนคำ ครูสร้างความสนใจในคำและหนังสือ อย่างเช่นคำที่เน้นสีเข้มเด็กจะอ่านได้ดีกว่า
ใช้ประสบการณ์ตรง-> เด็กได้พูดคุยได้อ่านจริง
สุดท้ายท้ายสุด อาทิตย์หน้าเราปิดครอส งานทุกอย่างต้องเสร็จและคนที่ยังไม่ได้เล่านิทานต้องเอาใบรายชื่อมาส่งก่อนล่วงหน้า

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 14

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554

วันอังคาร ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

วันนี้เข้ามาเรียนบรรยากาศในห้องดูเหมือนว่าจะเหนื่อยร้ากันมาก วันนี้ดูเหมือนว่าตัวดิฉันเองไม่ค่อยมีสมาธิซักเท่าไหร่ วันนี้อาจารย์เข้ามาก็ได้พูดถึงลักษณะสำคัญของภาษา ว่า
1.อาจารย์ได้พูดถึงลักษณะสำคัญและกิจกรรมทางภาษาแบบองค์รวม
-จะเน้นการเข้าใจในเนื้อเรื่องมากกว่าจะท่องจำตัวหนังสือ
-การคาดคะเนโดยการเดาในขณะอ่าน เขียน และ สะกด เป็นสิ่งที่
ยอมรับได้ในการเรียนรู้ภาษาธรรรมชาติ
-มีสื่อสิ่งพิมพ์ต่างวไ้ให้เด็กได้เลือกเพื่อจะไดรับประสบการณ์ทาง
ภาษาที่หลากหลาย
-ครูควรแนะวิธีการอ่านโดยจากการอ่านในกลุ่มเล็กก่อน จะใช้หนังสือ
ขนาดใหญ่และมีตัวหนังสือที่มองเห็นชัดๆ ผลัดกันอ่านออกเสียง
-แนะการอ่านอย่างมีความหมายอย่างสนุกสนานเพื่อจะให้เด็กรู้วิธี
การอ่านอย่างถูกต้อง
-เปิดโอกาสให้เด็กพูดคุย เลือกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
-ให้เด็กได้เลือกอ่านหนังสือที่ตนเองชอบได้
-ให้เด็กวาดรูปได้อย่างอิสระ
2.จุดสำคัญการส่งเสริมและพัฒนาภาษา
ขั้นของพัฒนาการในการอ่าน
ขั้นแรก - คำแรกที่เด็กอ่านเป็นคำที่มีความหมายต่อชีวิตเด็ก
ขั้นที่สอง การเขียนตัวอักษรที่ต่างกันสำหรับคำพูดแต่ละคำพูด
โดยมีลำดับและจำนวนอักษรตามที่เขาคิดว่าเหมาะสม
ขั้นที่สาม เด็กเริ่มใช้สัญลักษณ์ใกล้เคียงกับอักษรจริ
วันนี้ดิฉันจำได้แค่นี้จริงๆ เนื่องจากว่าวันนี้ไม่ค่อยมีสมาธิในการเรียน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 25 มกราคม 2554

วันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียน เนื่องจากดิฉันไม่ค่อยสบาย ท้องเสีย

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 18 มกราคม 2554

วันนี้เป็นวันที่ดิฉันไม่ค่อยอยากเรียนเท่าไหร่ เนื่องจากไม่ค่อยสบายเลยทำให้ไม่ค่อยมีสมาธิ และเพื่อนในห้องก็เป็นอะไรไม่รู้ เหมือนไม่เคยได้คุยกันมานาน คุยกันซะน่ารำคาญ แต่แล้วอาจารย์ก็เข้ามา อาจารย์ให้คิดคำมา 1 คำ แล้วให้เพื่อนคิดคำที่คล้องจอง มีสระที่คล้องจองกัน อย่าง รัก -นัก แล้วอาจารย์ก็เรียกถามไปเรื่อยๆ เหมือนเช็คชื่อไปด้วย ถามจนครบคน แล้วอาจารย์ก็ได้พูดขึ้นว่า การให้เด็กคิดคำคล้องจองนั้น เด็กก็จะได้ใช้เพิ่มคำศัพท์ ครูจะให้คุณคิดบางสิ่งบางอย่าง ทำให้เรามีความสุขแล้วคุณบอกครูว่า มันเป็นเพราะอะไรคุณถึงมีความสุข แล้วอาจารย์ก็เรียกถามอย่าง ของรัก สิ่งที่เศร้า แปลกใจ ขำ ตกใจ หงุดหงิด เศร้า
เป็นการให้เด็กได้แสดงออก ทำให้นึกถึงความเศร้า ความสุขแล้วบอกเหตุผลได้ และอาจารย์จะแจกกระดาษให้คนละ 1 แผ่น
กิจกรรมที่ 1 การคิดคำคล้องจอง
คือการคิดทำกิจกรรมคำคล้องจอง เด็กได้คิดคำ เสียงต้น สระ เป็นการส่งเสริมทางภาษา
กิจกรรมที่ 2 ด้านการพูด ความเศร้าอย่างนี้เป็นเหตุอย่างไร พริกด้านเป็นหน้าว่างๆ ให้ทำเป็นรูปวงกลม 1 วง อยู่ตรงกลางหรืออยู่ล่างกระดาษก็ได้ ให้ตามแนวนอน ทำวงกลมเหนือขึ้นไป 2 วงกลม แล้วให้วาดหน้าตัวเองลงไปในวงแรก พอวาดตัวเองเสร็จแล้วให้วาดรูปหน้าพ่อแม่เพื่อที่จะได้คิดถึงแม่ ฮิฮิ
ในขณะที่เด็กวาดรูปตัวเองเป็นภาษา เด็กวาดรูปแทนภาษา เมื่อเด็กวาดรูปเชื่อมโยงคำศัพท์ ทางภาษาก็เข้ามาเชื่อมโยงที่เราวาดนี้ก็คือฝังครอบครัว ซึ่งเด็กเล็กๆยังเขียนไม่ค่อยได้ และอาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องและได้บอกว่าเมื่อครูออกคำสั่งว่าจันทรเกษม ให้ปฏิบัติ แต่ถ้าไม่มีคำว่าจันทรเกษม ไม่ต้องทำอะไร และให้ทำตรงข้ามกับคำสั่ง ฮาเลย มีเพื่อนทำตามคำสั่งซะงั้น ก็หัวเราะกันทั้งห้องเลย ทำให้รู้ว่าพวกเราจะต้องปรับปรุงการรับฟัง งี้แหละแก่แล้ว
กิจกรรมที่ 3 ให้ออกมายืนหน้าห้องแล้วให้หัวแถวเขียนอะไรก็ได้ แล้วบอกเพื่อนให้กระซิบบอกเพื่อน ให้บอกต่อๆไป จนไปถึงคนสุดท้ายให้คนสุดท้ายออกมาบอกครู คำตอบคืออ้วนมาก แต่เพื่อนคนสุดท้ายกลับบอกว่า อ้วนมากๆ
กิจกรรมที่ 4 ให้ออกไปเขียนรูปที่อยากจะเขียน แล้วให้คนแรกเล่าถึงภาพที่ตัวเองวาด คนต่อไปให้เล่าเรื่องของตัวเอง เล่าต่อจากเรื่องของเพื่อนเพื่อให้ต่อเป็นเรื่องราวจนคนสุดท้าย จากการเขียนภาพเล่าเรื่องเด็กยังได้วาดภาพแล้วยังได้ใช้ภาษาในการพูดคุยมันก็เหมือนการจดบันทึกๆ เป็นการต่อยอดไปเรื่อยฝึกให้เด็กได้มีความกล้าคิด
กิจกรรมที่ 5 ให้ออกมาร้องเพลงอะไรก็ได้ เพื่อนได้ออกมาร้องเพลง ว่าวลอยอยู่บนท้องฟ้า
อาจารย์จ๋าได้พูดว่า การร้องเพลงเป็นไง คิดว่าเพราะไหม ทำไมถึงได้ร้องเพลงนี้ อย่างที่เราร้อง ถ้าเรามีคำคล้องจองนั้นมีเยอะไหม เด็กจะได้รับภาษา จากการร้องเพลง ได้ใช้คำควบกล้ำจากคำคล้องจอง ซึ่งสามารถนำไปใช้กับเด็กได้
และอาจารย์ยังได้ให้นับปฏิทิน ให้ใช้เศษกระดาษมาพับครึ่ง ตัดแล้วแม็กเย็บเหมือนปฏิทิน
อาจารย์ยังให้ร้องเพลง 7 วัน
เนื้อเพลง เจ็ดวันอันนั่งนับ อาทิตย์รับเริ่มสีแดง
วันจันทร์นั้นเปลี่ยนแปลง เป็นสีเหลืองเรื่อเรืองตา
วันอังคารสีชมพู ช่างงามหรูดูทีท่า
วันพุธสุดโสภา เขียวขจีสีสดใส
วันพฤหัสบดี ประสานสีแสดวิไล
วันศุกร์ฟ้าอำไพ เสาร์สีม่วงเด่นดวงเอย
จากเสียง ทำให้เด็กแยกแยะเสียง ฝึกการออกเสียง ซึ่งจะมีอยู่ 3 ลักษณะ
1.ภาพตัดต่อ
2.ภาพกับคำ
เพลง ขอบคุณ ขอบใจ
เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ
หนูๆ ควรต้องนึกถึงพระคุณ
น้อมไหว้กล่าวคำ "ขอบพระคุณ"
เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
นึกถึงบุญคุณกล่าวคำ "ขอบใจ"
อาจารย์จ๋าว่า ตอนนี้ให้ล่างให้ครูดูก่อน ส่วนภาพให้เราอย่าพึ่งเปลี่ยนภาพแล้วค่อยไปหารูปเตรียมไว้ จะวาดหรือจะตัดแปะก็ได้ ออกแบบออกมา ไม่ต้องลงทุนสูง ส่งภายในวันศุกร์นี้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 11

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม 2554

สำหรับวันนี้อาจารย์ได้นัดเรียนชดเชย แต่ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน
เพราะว่าติดธุระกระทันหันจึงต้องรีบกลับบ้านด่วน เลยไม่ได้ไปเรียนคะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 11 มกราคม 2554

วันนี้อากาศดี เข้ามาเลยก็เห็นเพื่อนในห้องครึกครักกันใหญ่ ไม่รุเหมือนกันว่าเป็นอะไรกัน วันนี้อาจารย์ให้ร่วมกันในห้องให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปริศนาคำทาย อาจารย์ให้ส่งสมุดเล่มเล็ก และ ฉัน ชอบ กิน... คนที่ไม่ได้ส่งก็ให้ส่ง
ภายในวันนี้ และยังยกตัวอย่างงานของเพื่อนบางคนได้แนะนำว่าควรเขียน
ตัวหนังสือให้ชัดๆ อ่านออก ตัวหนังสือต้องมีหัวทุกตัว จากนั้นอาจารย์ก็ให้
นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอปริศนาคำทาย และในเพื่อนๆช่วยกัน
แสดงความคิดเห็นของแต่ละกลุ่ม แล้วอาจารย์ก็ยังให้คำแนะนำเพิ่มเติม
เกี่ยวกับตัวหนังสือต้องเว้นวรรคให้ชัดเจน พอนำเสนอเสร็จครบทุกกลุ่มแล้ว
อาจารย์ก็มอบหมายให้แต่ละกลุ่มนำ Big Bookไปเล่นให้เด็กสาธิตฟัง
ภายให้อาทิตย์หน้าพร้อมถ่ายรูปและสรุปผลส่งให้อาจารย์ด้วย
จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมส่มเสริมทักษะทางภาษาดังนี้
-โฆษณา
-ประชาสัมพันธ์
-ประกาศ
-ของรักของหวง
-เล่าเรื่องจากภาพ
-เล่าประสบการณ์

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 4 มกราคม 2554

วันนี้ดิฉันมีธุระด่วน เรื่องส่วนตัวที่บ้านเลยต้องกลับบ้านด่วน เลยไม่ได้เข้าเรียน

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 4 มกราคม 2554

วันนี้เป็นวันที่อากาศดี อารมณ์ดีพอเข้ามาเรียนอาจารย์จ๋าก็ได้แจกใบงานพยัญชนะ ก-ฮ เป็นรูปสัตว์ โดยให้เติมตัวเลขเรียงลำดับลงในวงกลมใต้ภาพ จากนั้นอาจารย์ก็ได้แจกกระดาษเหลือใช้มาให้คนละแผ่น ให้เอามาพับทำเป็นสมุดเล่มเล็ก โดยให้ไปทำสมุดเล่มเล็มมาคนละ 1 เล่ม ไม่ได้กำหนดว่าจะต้องทำเป็นเรื่องอะไร ให้ไปทำมา ส่งในคาบต่อไป
วันนี้ได้เรียนอะไรบ้างหนอ
ในสมัยก่อนเราไม่เคยใส่ใจในภาษา แต่ถ้าสมัยนี้ถ้าคนเราเรียนรู้ภาษาได้มากกว่า 1 ก็จะดีกว่า ถ้าเรามีหลายภาษาก็จะทำเราเรียนรู้ในโลกกว้าวขวางขึ้น
และอาจารย์ได้ให้กระดาษมาโดยให้ไปทำมาว่าชอบกินอะไร
อย่างที่ 1 จากครั้งที่แล้วที่อาจารย์ที่ได้หยุดในช่วงปีใหม่ ครูได้ให้ไปศึกษาภาษาท้องถิ่นของตัวเอง
2 ภาษานั้นผ่านการใช้ เกิดจาก การสังเกต และยังมีอีกอย่าง การทำหนังสือผ่านศิลปะ
การทำหนังสือ อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ว่าอะไรคือเครื่องใช้ไฟฟ้า อย่างหนังสือภาพ เมื่อเราดูแล้วเราก็จะสังเกต เพราะฉะนั้นตัวก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เช่น เตารีด ก็จะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า และการพูดซ้ำๆ ว่าอะไรเป็นเครื่องไฟ้ฟ้า เราอาจจะเรียนรู้ผ่านจากงานศิลปะ จากการฉีก แปะ ส่วนในบล็อกก็อาจจะมาจากภาพที่เราไปเอามา
เขียนอย่างไร => คุณลักษณะของผู้เขียน อย่างถ้าเราจะให้เด็กตัวเล็กๆเขียน อย่างแรกเราอาจจะมีการเขียนให้ก่อน แล้วเด็กก็จะมีพัฒนาการการเขียนต่อไปเรื่อยๆ สามารถจับสเต็ปไปได้เป็นขั้นตอน
เคยสังเกตบ้างไหมว่า ทำไมถึงต้องแยกคำ =>ก็เพราะว่าเมื่อเด็กเห็นแล้วเด็กก็จะไม่เกิดเบื่อในคำสั้นๆ ถ้าเป็นคำยาวๆ เด็กจะไม่เข้าใจ คำจะต้องมีความใกล้เคียงกันและควรที่จะแยกนิดนึง เพราะฉะนั้นในการวางคำ คุณจะต้องกำหนดไว้เลยว่าจะต้องมีคำกี่คำ และก่อนที่จะเขียนก็จะต้องมีการกำหนดงานก่อน เพื่อที่คุณจะได้ไม่ต้องแก้งานกันหลายๆรอบ ให้น่าเบื่อ
อาจารย์จ๋าได้นำกระดาษ 1 แผ่นมาพับแล้วสมมุติว่าเป็นเรือ แล้วอาจารย์ก็เล่าเรื่องราวให้ดูขบขันน่าสนใจ เกี่ยวกับการเดินทางของเรือ พร้อมกับการฉีกกระดาษไปด้วย น่าแปลกใจมากว่าจะกลายเป็นเสื้อได้ ช่างน่าสนใจมาก และครูกำลังจะบอกว่าเราจะสอนภาษาเด็กเลยนะ ไม่ได้ ดังนั้นเราจะต้องสอนผ่านรูป รูปเป็นภาษา อย่างเมื่อกี้นี้จากการฉีก จากการออกแบบ
ภาษาสอนเด็กไม่ได้จึงมีการสอนผ่านทางศิลปะ ดังนั้น การบ้าน ลองกลับไปพับแล้วฉีกดูว่าจะออกมาเป็นรูปอะไร ตอนพับนะยังไม่ค่อยเท่าไหร่ มันอยู่ที่ตอนฉีกนี่แหละว่าจะออกมาเป็นรูปอะไร พอฉีกแล้วจึงค่อยนำมาแต่งเรื่อง ดังนั้นไปหัดฉีกแล้วค่อยมาแต่งเรื่อง เราต้องสร้างนิทาน เพราะนิทานเป็นการสร้างจินตนาการและแง่คิด ครูจะให้เห็นว่าภาษามีอยู่ทั่ว อยู่ที่ว่าเราจะใช้ไปทำอะไร และลู่ในปัจจุบันมีกี่ลู่ เอาล่ะสิมีกี่ลู่เจอคำถามอย่างนี้ นึกๆๆๆๆๆ อ๋อ
นึกออกแล้ว มีกลางแจ้ง,เคลือนไหว,กิจกรรมเสริมประสบการณ์,ศิลปะสร้างสรรค์,กิจกรรมเสรี
เอาล่ะคราวนี้เรื่องยาวแล้วนะ เอาแล้วละสิ อาจารย์จ๋าพูดแบบนี้ เลิกเย็นแน่ๆ โอ้คิดถึงตลาดนัด อาจารย์บอกว่าใครอยากไปห้องน้ำให้ไปได้นะ แต่ทุกคนบอกว่า เรียนต่อเลยคะ ทำใจแล้ว สู้ๆ
การจัดประสบการณ์ทางภาษา เรามาทบทวนว่าเขาเขียนด้วยอะไร จากการลากไปมา เพราะฉะนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีบทบาทที่สำคัญเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง บางคนอาจว่าเด็กยังไม่ควรใช้แต่ว่าเด็กอาจได้เขียนได้ลาก จึงเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่ง
- ดูจากภาพแล้วสื่อออกมาจึงต้องใช้ภาษา บอกวิธีการหลายรูปแบบ ทักษะช่วยให้เด็กใช้ภาษาที่พูดแล้วแสดงออก เป็นการส่งความรู้สึก เราจะเลือกเรื่องที่สื่อความรู้สึก เราต้องเลือกเรื่องที่เกี่ยวกับเด็ก เราจึงจะสื่อกับเด็กได้สนุกสนาน การรับข้อมูลเพื่อรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น
- เด็กฟังแล้วพูดโดยอาศัยการสอนเป็นทางการจริงหรือเปล่า
จริง ได้จากการฟัง อะไรที่เด็กบ่งบอกว่าเรียนได้ ไม่ได้พัฒนาการ ดูที่ไหน
ศิลปะ => เวลาเด็กวาดรูป การลงเส้นอะไรอย่างนี้ จึงต่างจากการเขียน เพราะการเขียนยังเป็นเรื่องยากสำหรับเด็ก การฟังเป็นเรื่องที่ง่ายจากการพูดคุย สภาพแวดล้อมจากการฟังทั่วไป จากการฟังจากการพูด อาจไม่ต้องสอนแบบเป็นทางการแต่ก็ปล่อยไม่ได้ เด็กเรียนรู้การพูด มาจากการฟังการเล่านิทาน
ทำไมเด็กรู้ภาษาของพ่อแม่ เมื่อเด็ก 4- 5 ปี เกี่ยวกับพัฒนาการ ซึ่งมีส่วนร่วมในทุกส่วนของร่างกายคือสมอง สมองนั้น เรานึกถึงออสมอสิค เมื่อมีการซึมซับแล้วก็มีการกระจาย และในบางครั้งเมื่อเราได้รับความรู้ใหม่ๆ มันก็จะทับลงไปนั่นก็เหมือนกับศิลปะนั่นเอง
การเข้าใจเกี่ยวกับภาษาทั้งในด้านภาษาศาสตร์ ด้านการนำไปใช้ ตลอดจนแนวปฏิบัติในการจัดประสบการณ์ทางภาษาให้แก่เด็ก
ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(code) ภาษาเป็นสัญลักษณ์ของมโนมิติ เกี่ยวกับโลกหรือประมวลประสบการณ์
ภาษาเป็นระบบโดยมีระบบกฎเกณฑ์ที่ค่อนข้างจะคงที่ และยังสามารถสรุปได้ว่า ภาษาคือสัญลักษณ์ที่มนุษย์ในสังคมหนึ่งสร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารและทำความเข้าใจ
อาจารย์จ๋าได้พูดทิ้งท้ายคาบว่า ก่อนจะไปหนังสือ บิ๊กบุค ต้องเสร็จ เพราะจะให้คุณไปเล่าให้กับเด็ก เพื่ออะไร ก็เพื่อที่จะฝึกประสบการณ์ และมันสามารถใช้กับเด็กได้หรือเปล่า

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 28 ธันวาคม 2553

วันนี้ดิฉันไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากว่ากลับบ้านช่วงปีใหม่คะ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2553

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเป็นวันสอบกลางภาค

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม 2553

วันนี้ก็มาเรียนตามปกติ วันนี้ทำไมอาจารย์มาช้าจัง แต่แล้วอาจารย์เหมียวก็เข้ามา บอกว่าวันนี้อาจารย์จ๋าติดธุระด่วนจึงได้ให้อาจารย์เสาวลักษณ์มาสอนแทน แต่ก็ไม่แน่อาจารย์จ๋าอาจจะกลับมาทัน อาจารย์เหมียวก็ได้สั่งงานที่ได้มอบหมายมา ว่าอาจารย์จ๋าให้ทำหนังสือ Big Book เล่มใหญ่ อาจารย์เหมียวแจกกระดาษให้แล้วได้อธิบายว่า ให้แต่ละกลุ่มทำหนังสือปริศนาคำทาย และถ้าไม่เข้าใจตรงไหนให้มาถามอาจารย์ได้
วันนี้ก็เลยสบายๆ ทำงานกลุ่มได้แค่ร่างแบบไว้แล้วก็ไปตกแต่งทีหลัง

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน 2553

วันนี้เข้าเรียนมาก็เซงๆซะงั้น แต่พอเห็นเพื่อนพูดกันเฮฮาก็ให้เฉยๆ และแล้วอาจารย์ก็เข้ามา อาจารย์ก็จะสอนแต่คาบที่แล้วยังมีเพื่อนอีกกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอ เพราะไวรัส ทำให้ไม่ได้เสนอ
กลุ่มนี้ได้เล่าถึงประสบการณ์จริง เล่าว่าน้องเติ้ลไปเที่ยวสวนสัตว์
และอาจารย์จ๋าก็ได้พูดเสริมว่า ในรายละเอียดเราจะต้องไปเก็บข้อมูล ในทุกๆครั้งที่เราไปเอาอะไรของใครมา เราก็ต้องอ้างอิง ทำให้มันถูก ในการทำสื่อให้เราดูดีๆ เพราะในครั้งแรกนั้นเราไม่สามารถทำให้ระเอียดรอบคอบได้ เราก็ต้องทำได้เรื่อยๆ เดี๋ยวเราก็ทำได้ ไม่มีคำว่าผิดหรอก ในการวัดเด็กเราจะต้องมีการสังเกต พิจารณาผลงานของเด็กหรือประเมินจากพัฒนาการ ดังนั้นเราจะทำอะไร เราควรจะเก็บข้อมูลให้ระเอียดและถ้าเราไปเจอเด็กหลายๆคน เราจะทำอย่างไร เราต้องทำให้เกิดความชำนาญเสียก่อน ประสบการณ์ก็เพื่อให้เกิดความชำนาญ
อาจารย์เลยให่ทำปริศนาคำทาย
ประสบการณ์ทางภาษา เราให้โอกาสเด็กมีโอกาสประสบการณ์ ให้เด็กเห็นคำแล้วเชื่อมโยง ให้เด็กได้เรียนรู้ คำ
กลุ่มแรกทำออกมา กลุ่มนี้เขียนตัวขาดหาย ควรต้องแก้ ก็อย่างนี้ไง ถ้าเราทำพาวเวอร์พอยท์เราจะวาดยากกว่า แต่พอเราทำเป็นลูกเล่นเราจะวาดได้ชัดยิ่งขึ้น และเราก็ต้องค่อยๆ เพิ่มตามคำ
กลุ่มที่ สอง มีข้อผิดพลาดอยู่จากการเว้นวรรค รูป เพราะมันเป็นสิ่งไม่มีชีวิต และเพิ่มขา แล้วคำถามบางส่วนหายไป และเมื่อเพื่อนตอบถูกต้องมีการสรุปย้อนด้วย
กลุ่มที่ สาม ข้อผิดพลาด ก็คือการใช้คำว่าตอบ ไม่ใช่บอก นอกจากตัดคำแล้วยังต้องแยกคำอีก กรเชื่อมโยงภาพไม่ตรงกนอย่างกับถามอีกทาง แต่ตอบอีกทาง จากรูปทรงกลมๆมีหลายสีหลายขนาดแต่ทำไมถึงมีแค่ขนาดเดียว เราต้องมีการวิเคราะห์ของรูปแบบ เป็นสิ่งไม่มีชีวิต มีหลายสี หลายขนาด
มีอีกอย่างที่อยากจะฝากไว้ก็คือ ให้รีบบันทึกซะ ถ้าทิ้งไว้นานเดี๋ยวลืมจะยากต่อการที่เราจะมานึกขึ้นมาได้ ถ้ายังไงก็อย่าทิ้งไวนาน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน 2553

วันนี้เข้ามาเลย ฮามากเลย ไม่ได้เตรียมความพร้อมอะไรมาก เข้ามาในห้องเรียนโอ้เสียงดังมาก ดิฉันก็พูดได้เลยว่าวันนี้งานไม่เรียบร้อยแล้วยังต้องเอามาเสนออาจารย์อีก ไม่เป็นไร ใจสู้เสียอย่าง พออาจารย์เข้ามา ทุกคนก็เริ่มเงียบ ตื่นเต้นๆ อาจารย์ก็พูดถึงเรื่องงาน วันนี้อาจารย์บอกให้เอา URL ใส่ในบล็อกด้วย เพราะถ้าเราค้างไว้นานก็จะเป็นดินพอกหางหมู ในการนำเสนอนั้นเราต้องบอกประวิติน้องให้ระเอียด อายุของน้องจะบอกถึงการใช้ภาษา
วันนี้คือการพูด จริงๆแล้วถ้าเราจัดประสบการณ์ให้เด็กพูดบ่อยๆเมื่อเด็กมีประสบการณ์เด็กก็จะริเริ่มไม่ต่างจากศิลปะ เพราะฉะนั้นเด็กใช้ภาษามาตั้งแต่เกิด แต่การพูดมันจะมีโอกาสให้เด็กได้สื่อสาร จึงต้องมีการจัดกิจกรรม ณ วันนี้เด็ก 6 คน คือตัวอย่างวันนี้เราอยากให้งานดูดี จึงมีการเขียนสคิป ภาษานอกจากสื่อสารแล้วยังช่วยในการเกิดการคิด แล้วภาษายังทำให้เกิดการใฝ่รู้ เด็ก 6 คนจึงเป็นตัวอย่าง แต่คุณภาพงานที่เราไปจัดให้ผลที่ได้จึงไม่เท่ากัน
ยกตัวอย่าง ข่าว ว่าข่าวที่เราไปจอมานั้นไม่ต้องเอามาจากหนังสือพิมพ์ก็ได้ มันดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ อาจจะเอามาจากสิ่งที่เด็กเห็นมา หรือที่เด็กได้ยินมานั้นก็เป็นข่าวได้แล้ว
ของรักของหวง เราจะบอกถึงอะไร อย่างพี่เพื่อนได้เอามายกนั้นคือ น้องเน่า เป็นการบอกว่านี่เป็นสิ่งของที่ขาดไม่ได้ เอาติดตัวไว้ตลอดเวลา และอย่างของกลุ่มดิฉัน กว่าจะได้มานั้นยากมาก เราไม่ได้เขียนสคิปให้น้องแต่เราให้น้องดูภาพแล้วให้น้องเล่าออกมาเองตามความคิดของน้อง เล่ากันหลายรอบมาก
อาจารย์จ๋าได้พูดไว้อีกว่า อย่างนึงคือน้องไม่กล้าที่จะพูดด้วย น้องก็เลยไม่เข้าใจที่เราต้องการที่จะสื่อ อย่างแรกเลย เราควรที่จะทำความเข้าใจกันก่อน มีการพูดเล่นพูดคุยกับน้องเค้าเสียก่อน สังเกตจากการสอนน้อง เปิดโอกาสให้น้องแสดงความคิดเห็นและดูซิว่าน้องกล้าที่จะแสดงออกหรือเปล่า คือสรปุได้ว่า การที่เราไปจะพูดคุยกับเด็ก เราก็ต้องมีแบรกกราวที่จะพูดกันเสียก่อน เพราะฉะนั้นให้ทุกคนไปสะท้อนงานชิ้นนี้มา ว่าทำแล้วได้ประโยชน์ยังไง แล้วจะนำมาใช้ในวิชาชีพของเรายังไง นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และอาจารย์ยังพูดอีกว่า เป็นการพูดเพื่อสะท้อนความคิดเพื่อในการเรียนรู้ต่อไป
อาจารย์ได้ให้แต่ละคนนึกถึงสิ่งของ อะไรก็ได้ แล้วเขียนลงไปในกระดาษโดยไม่ใช้เพื่อนรู้
ปลา โน๊ตบุค
เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ไม่มีชีวิต
ลักษณะเด่น มีหน้าจอ
ลักษณะเด่นอันที่ สอง อาจจะเป็นรูปทรง ลักษณะ หรือพฤติกรรม ที่ฟังดูกระทัดรัด
เป็นวิธีที่สามารถนำมาสอนเด็กได้ อาจารย์ได้ให้ดูตัวอย่างของรุ่นพี่
ฉันตั้งชื่อมันว่า นีนี่ นีนี่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต นีนี่ คืออะไร
เพื่อน ตอบว่า ตุ๊กตา นีนี่ คือ ตุ๊กตา
ฉันตอบว่า ไม่ใช่ นีนี่ ไม่ใช่ตุ๊กตา
เพื่อให้เด็กได้จดจำคำ โดยที่ไม่ต้องสะกดเป็นการใช้แทนความหมาย เป็นการใช้คำซ้ำถ้าเอามาพูดกับเด็ก เด็กก็จะได้คำซ้ำๆพอ ในขณะที่พังก็จะได้เรียนรู้ไปด้วย
ในวันนี้ก็ได้เรียนรู้ถึงวิธีการทำสื่อไปสอนเด็ก อาจจะดูไม่ค่อยเข้าใจซักเท่าไหร่ แต่ถ้าค่อยๆได้ทำไปก็คงจะเข้าใจมากกว่านี้

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2553

วันนี้เป็นวันที่ดิฉันไม่อยากเข้าเรียนเลย แต่ก็ต้องมาเรียนเพราะต้องนำเสนองานกลุ่ม มาก็ช้า เพราะคาบเรียนมันติดกัน เลยทำให้ต้องรีบมาเรียน เข้ามาในห้องเรียนเห็นเพื่อนๆ นั่งเรียนกันแล้ว นั่งเงียบกันทั้งนั้น อาจารย์เข้ามา อาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอในเรื่องที่ได้ มีการเสนอข้อดี ข้อแนะนำ และอาจารย์เสนอแนะ อาจารย์เข้ามาทีไร จะปล่อยมุขฮาๆให้ขำตลอด
กลุ่มที่ 1
ภาษา กิริยาที่แสดงออกมาแล้วสามารถทำความเข้าใจ
ข้อดี
เพื่อนในห้องได้พูดประเมินว่า ในกลุ่มนี้ที่รายงานมา เพื่อนได้มีการนำเอานิทานมาทำเป็นสื่อ มีการอธิบายเนื้อเรื่องได้เข้าใจ และเพื่อนมีความคิดที่แตกต่างออกไป ในกลุ่มมีความสามัคคี มีการแบ่งหน้าที่กันทำ
อาจารย์จ๋า ได้พูดว่าการทำงานของกลุ่มนี้มีการนำเอาอิเล็กทรอนิกส์มาดัดแปลง มาใช้ในการทำสื่อ
ข้อแนะนำ ว่าเพื่อนน่าจะทำตัวหนังสือที่มันดูใหญ่กว่านี้นิดนึง และพื้นสีผิดน่าจะทำสีให้มันดูเด่นชัดเท่ากัน และมีการใช้อักษร ร,ล ให้ดีกว่านี้
กลุ่มที่ 2
ภาษาที่ใช้ในการสือ่สารของมนุษย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ วัจนภาษา กับ อวัจนภาษา
วัจนภาษาหมายถึง การสื่อสารในระบบคำและประโยค โดยผ่านการฟัง พูด อ่าน เขียน โดยมีคำเป็นตัวสื่อความหมาย
อวัจนภาษา หมายถึง การสื่อสารโดยไม่ใช้การฟัง การพูด การอ่านตามตัวหนังสือ และการเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค
ข้อดี
เพื่อนในห้อง ได้พูดถึงกลุ่มนี้ว่า มีการนำเสนอที่ดูแปลกตาดี ทันสมัย มีการนำเอาวีดีโอ มาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี และนำเสนอสือออกมาได้สวยงาม ใส่เนื้อหาที่เข้าใจได้ง่าย และในกลุ่มนี้ได้มีการเตรียมการมาเป็นอย่างดี
ปรับปรุง สิ่งที่ควรปรับปรุงก็คือ การเล่นวีดีโอควรที่จะช้านิดนึง เพราะเล่นไปไวมากจนเพื่อนอ่านไม่ทัน แล้วการนำเสนอ ก็ควรที่จะเลือกเอาไปเลยว่าจะ นำเสนอเป็นวีดีโอ หรือจะบรรยาย ให้เอาอย่างใดอย่างหนึ่ง
กลุ่มที่ 3
ในกลุ่มนี้มีข้อผิดพลาด เนื่องจากหาเนื้อหามาไม่ได้สอดคล้องกับหัวข้อที่ได้รับซักเท่าไหร่
อาจารย์จ๋าได้พูดถึงกลุ่มนี้ว่า ถ้าเราไปเอาเนื้อหามาจากที่ไหนก็แล้วแต่ เราก็ควรที่จะมีการอ้างอิงแหล่งที่มา ว่ามาจากไหน และการใช้ลูกเล่น ก็ควรที่จะเน้นไปในทิศทางเดียวกัน และอาจารย์ได้อธิบายถึงความสำคัญของภาษา ไว้ว่า ภาษาให้ประโยชน์แก่เรา และมีประโยชน์อย่างไรนั้นจากที่นำเสนอนั้นเหมือนกับความหมายหน้าที่ของภาษามากกว่า ฉะนั้นภาษาช่วยให้คนที่ใช้ภาษาทำให้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียว เนื้อหามันเฉไปนิด แถมเอาเนื้อหามาเหมือนคล้ายๆของเพื่อน ครูต้องการให้เราจับประเด็นให้ได้ ถ้าเราจับประเด็นได้ เราก็จะเข้าใจในเนื้อหาได้
กลุ่มที่ 4
ได้อธิบายถึง ลักษณะของภาษา
ข้อดี
เนื้อหามีรายละเอียดมาก มีการนำเสนอในรูปแบบที่ดูเรียบๆ สบายตา เป็นระเบียบและยังมีการอ้างอิงแหล่งที่มา
ข้อแนะนำ
รูปแบบที่นำมาเสนอมานั้นยังไม่ค่อยมีความน่าสนใจเท่าไหร่ ไม่มีสิ่งที่ดูแปลกใหม่
อาจารย์จ๋าได้พูดถึงกลุ่มนี้ว่า การทำงานของในแต่ละกลุ่มนี้มีการแบ่งการทำงานกันอยู่แล้ว จะต้องมีการเอามารวมกัน เราคงไม่หวังว่ามีการทำ พาวเวอร์พอยท์ ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการลิ้งงานมาอ่านเหมือนของกลุ่มอื่น แต่เราต้องมีโทนเสียงแล้วสรุป ไม่ควรที่จะอ่านอยู่แต่หน้าจอ แทนที่จะยืนออกันอยู่ เราควรจะจัดให้รู้ถึงหน้าที่ของแต่ละบุคคล ณ ตอนนี้ก็เอาแค่ประเดนที่สำคัญไปก่อน ควรจะมีการทำความเข้าใจกันมาก่อน แล้วค่อยนำมาพูดให้เพื่อนฟัง และแล้ววันนี้ก็เข้ามาเรียนทันซะงั้น ดูเหมือนว่าวันนี้จะอารมณ์ดี อากาศก็ดี พอเข้ามาในห้องเรียน เห็นเพื่อนๆ เฮฮากัน อาจารย์เข้ามาก็ได้ให้แต่ละกลุ่มออกมาพูด และวันนี้สรุปได้ว่า ความหมายสำคัญ ความมีตัวตนของภาษา ถ้าเราพูดถึงภาษาของเด็ก เราจะทำอย่างไรให้เรามีประสบการณ์ของภาษา เราจะไปจัดประสบการณ์อย่างไร ก่อนที่จะไปทำอะไรเราก็ควรที่จะรู้ความหมายของมันก่อน และยังให้แบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ได้รับการโฆษณา
กลุ่มที่ 2 ได้ประชาสัมพันธ์
กลุ่มที่ 3 ได้ประกาศ
กลุ่มที่ 4 ได้ของรักของหวง
กลุ่มที่ 5 ได้เล่าประสบการณ์
กลุ่มที่ 6 ได้เล่าเรื่องจากภาพ
ให้คิดกันสดๆในห้องเลย โดยให้รวมความคิดกัน และกลุ่มไหนจะออกมาก่อนก็ได้
กลุ่มที่จะออกมานั้นเป็นกลุ่มที่ 3 กลุ่มนี้ได้ประกาศ เพื่อนได้ออกมาประกาศเรื่องอากาศ ในส่วนอาวไทย จะมีเคลื่อนสูง เรือเล็กไม่ควรออกจากฝั่ง
ประกาศเพื่อ เตือน มีการให้ภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร มีทั้งความหมายว่าเป็นเครื่องมือในการสื่อสารในการประกาศมีองค์ประกอบของภาษา เพราะฉะนั้นเด็กได้มีการออกมาประกาศ หาควรจัดมีการจัดกิจกรรม การประกาศคือการตืนหรือข่าว
กลุ่มที่ 1 ได้ออกมาพูดในเรื่องการโฆษณา ยาหม่อง
อาจารย์ได้ให้ความเห็นว่า อาจารย์อยากเห็นการโฆษณาที่มันดูมีชีวิตชีวามากกว่านี้ อย่างที่เราเคยเห็นจากโทรทัศน์นั้นของเค้ายังมีการเชิญชวน ทำให้เราอย่ากที่จะลองใช้ การโฆษณานั้นจะต่างจากการประกาศ ต่างกันตรงที่การโฆษณาเป็นการเชิญชวนให้คนมาสนใจ
กลุ่มที่ 4 ได้ออกมาพูดถึงของรักของหวง
เรื่องบริจาคสิ่งของเพื่อช่วยผู้ประสบภัย
อาจารย์ได้ให้ความเห็นว่า จากการประชาสัมพันธ์จะต้องเป็นการบอกข่าวต้องมีรายระเอียดมากกว่าข่าว
กลุ่มที่ 6 ได้ออกมาพูดในเรื่องการเล่าเรื่องจากภาพ
เป็นการนำภาษามาให้กับภาพ เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์ และการเล่าในแต่ละครั้งเด็กก็จะได้รู้ไม่เหมือนกัน การรับรู้ของแต่ละคนแตกต่างกัน ได้มากได้น้อยอยู่ที่ตัวเด็ก
การบ้าน ในสัปดาห์หน้ามีงานมอบหมายให้ไปหาเด็ก อายุ 4 ขวบขึ้นไปแล้วให้เด็กสมมุติในสถานการต่างๆที่ได้กำหนดไว้